การเรียกร้องค่าสินไหม
ประกันภัยรถยนต์
- ชื่อผู้เอาประกันภัย หรือหมายเลขกรมธรรม์ของรถที่ประสบอุบัติเหตุ
- เลขทะเบียน (ยี่ห้อ) และ สีของรถยนต์ที่เกิดเหตุ
- ชื่อผู้ขับขี่ และเบอร์โทรศัพท์
- สาเหตุและลักษณะของอุบัติเหตุโดยย่อ
- สถานที่เกิดเหตุ จุดสังเกตหรือเห็นได้ชัดเจน และสถานที่นัดหมาย
หลังจากนั้นควรปฏิบัติตามคำแนะนำของบริษัทประกันภัย
ในกรณีที่ คู่กรณีมีประกันภัยรถยนต์แต่ติดต่อบริษัทประกันภัยคู่กรณีไม่ได้ให้จดชื่อบริษัทประกันภัย เลขที่กรมธรรม์ วันหมดอายุ ของคู่กรณีไว้
- ให้คู่กรณีทำหนังสือยอมรับผิด และขอสำเนาทะเบียนรถยนต์ของคู่กรณีถ้าไม่ได้สำเนาขอให้จดยี่ห้อ รุ่น หมายเลขทะเบียนรถยนต์ ชื่อและที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของคนขับรถยนต์คู่กรณี
- ขอหลักฐานของคู่กรณีไว้ เช่น ใบขับขี่ หรือบัตรประจำตัวประชาชน (ให้คู่กรณีเขียนข้อความเพิ่มเติม เช่น ยินยอมมอบให้เพื่อเป็นหลักฐานกรณีขับรถชนรถของท่าน)
- แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุและคัดสำเนาประจำวันตำรวจให้บริษัท
- ติดต่อบริษัทให้เร็วที่สุดในกรณีที่ติดขัด หรือต้องการความช่วยเหลือ
- สถานที่เกิดเหตุ จุดสังเกตหรือเห็นได้ชัดเจน และสถานที่นัดหมาย
ในกรณีคู่กรณี ไม่มี ประกันภัยรถยนต์ ขอให้ปฏิบัติ ดังนี้
- ให้คู่กรณีทำหนังสือยอมรับผิด และขอสำเนาทะเบียนรถยนต์ของคู่กรณี ถ้าไม่ได้สำเนา ขอให้จดยี่ห้อ รุ่น หมายเลขทะเบียนรถยนต์ ชื่อและที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของคนขับรถยนต์คู่กรณี
- ขอหลักฐานของคู่กรณีไว้ เช่น ใบขับขี่ หรือบัตรประจำตัวประชาชน (ให้คู่กรณีเขียนข้อความเพิ่มเติม เช่น ยินยอมมอบให้ท่านไว้เพื่อเป็นหลักฐานกรณีขับรถชนรถยนต์ของท่าน)
- แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจท้องที่ที่เกิดเหตุและคัดสำเนาประจำวันตำรวจ
- ติดต่อบริษัทให้เร็วที่สุดในกรณีที่ติดขัด หรือต้องการความช่วยเหลือ
ในกรณีที่คู่กรณี มี ประกันภัยประเภท 1, 2, 3 ฯลฯ และมีใบยืนยันการเกิดเหตุ
- ให้แลก “ใบยืนยันการเกิดเหตุ” (สีขาวซึ่งได้จัดส่งให้ท่านพร้อมกรมธรรม์ประกันภัย) ที่บริษัทประกันภัยออกให้โดยปฏิบัติตามที่ระบุในเอกสารหรือตามข้างต้น (Knock for Knock Form)
ในกรณีที่คู่กรณี ไม่มี ประกันภัย หรือมีประกันภัย แต่ ไม่มี เอกสาร “ใบยืนยันการเกิดเหตุ” ให้ปฏิบัติดังนี้
- ให้ท่านและคู่กรณีนำรถยนต์ไปติดต่อบริษัทประกันภัยให้เร็วที่สุด ถ้าเป็นไปได้ขอให้ท่านถ่ายรูปไว้ก่อน
- หากเรื่องถึงสถานีตำรวจและเจ้าหน้าที่กล่าวหาว่าท่านผิด ให้คู่กรณีคัดสำเนาประจำวันของตำรวจมาติดต่อบริษัทพร้อมรถยนต์ที่เสียหาย
- ในกรณีที่เรื่องไม่ถึงสถานีตำรวจให้ทำบันทึกยอมรับผิดให้คู่กรณีไว้
ในกรณีที่คู่กรณี มี ประกันภัยประเภท 1, 2, 3 ฯลฯ และมีเอกสาร “ใบยืนยันการเกิดเหตุ”
- ให้แลก “ใบยืนยันการเกิดเหตุ” ที่บริษัทประกันภัยออกให้ โดยปฏิบัติตามที่ระบุในเอกสาร
ในกรณีที่คู่กรณี ไม่มี ประกันภัย และ ไม่มี “ใบยืนยันการเกิดเหตุ”
- ในกรณีเรื่องถึงสถานีตำรวจและเจ้าพนักงานกล่าวหาว่าประมาทร่วม ให้คัดสำเนาประจำวันของตำรวจมาติดต่อที่บริษัทพร้อมรถยนต์ที่เสียหาย
- ในกรณีเรื่องไม่ถึงสถานีตำรวจให้ทำบันทึกประมาทร่วมซึ่งกันและกันเป็นหลักฐาน
- รีบนำส่งโรงพยาบาล หรือคลินิกที่ใกล้ที่สุดเพื่อรับการปฐมพยาบาล ในกรณีที่รถมีประกันภัยตามพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ (พ.ร.บ.) ขอให้แสดงหลักฐานต่อเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล สำเนากรมธรรม์ประกันภัย โรงพยาบาลส่วนใหญ่จะทำการรักษาคนเจ็บเบื้องต้น โดยท่านไม่ต้องชำระค่ารักษา ยกเว้นโรงพยาบาลบางแห่งที่ท่านต้องสำรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลก่อนแล้วบริษัทประกันภัยจะคืนให้ภายหลังภายในวงเงินที่บริษัทประกันภัยต้องรับผิดชอบ
- ติดต่อบริษัทประกันภัย ทันทีให้เร็วที่สุด
- โทรศัพท์แจ้งศูนย์ป้องกันและปราบปรามการโจรกรรมทันที โทร 1192
- โทรศัพท์แจ้งให้บริษัทประกันภัย ทราบทันที
- แจ้งความยังสถานีตำรวจท้องที่ที่รถยนต์หาย โดยเตรียมเอกสารต่อไปนี้
- สมุดคู่มือการจดทะเบียนรถ
- หนังสือมอบอำนาจจากท่าน เพื่อใช้ประกอบการแจ้งความ
- สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนของท่าน รับรองสำเนาโดยผู้มีอำนาจ
- สำเนาบัตรประจำตัวของกรรมการผู้มีอำนาจลงนามพร้อมรับรองสำเนา และ/หรือ ผู้รับมอบอำนาจ
ในกรณีที่รถหายอยู่ในระหว่างการเช่าซื้อ กรุณาติดต่อบริษัทไฟแนนซ์ของท่านซึ่งจะดำเนินการจัดเตรียมเอกสารดังกล่าวข้างต้นให้
- หลังจากรถหาย 1 เดือน ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่บริษัทประกันภัยขอหนังสือ ต่อสถานีตำรวจ สอบถามความคืบหน้าและขอหนังสือตอบจากสถานีตำรวจนั้นๆ ส่งให้บริษัทฯ พร้อมทั้งเตรียมเอกสารใช้ประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมฯ ดังนี้
- สมุดคู่มือการจดทะเบียนของรถพร้อมลายเซ็นของผู้มีอำนาจและประทับตรา
- หนังสือมอบอำนาจพร้อมลายเซ็นของผู้มีอำนาจและประทับตรา
- ชุดโอนพร้อมลายเซ็นของผู้มีอำนาจและประทับตรา
- หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นบริษัทประกันภัย พร้อมลายเซ็นของผู้มีอำนาจและประทับตรา
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนหรือพาสปอร์ตของผู้มีอำนาจพร้อมรับรองสำเนา
- กุญแจรถยนต์
ในกรณีที่ผู้ขับรถประกันขับขี่รถโดยประมาท ทำให้บุคคลอื่นได้รับบาดเจ็บและ/หรือเสียชีวิต ซึ่งเป็นความผิดคดีอาญา ทำให้ผู้ขับขี่ต้องถูกควบคุมตัวไว้เพื่อรอพิจารณาคดี ซึ่งความคุ้มครองประกันตัวผู้ขับขี่ จะเข้ามาช่วยเหลือในเรื่องการวางหลักทรัพย์ประกันตัวผู้ขับขี่ออกมาต่อสู้คดี ส่วนจำนวนเงินคุ้มครองและเงื่อนไขก็เป็นไปตามที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัย
โทษทางคดีอาญาที่ควรทราบ
- กรณีชนทรัพย์สินผู้อื่นเสียหาย โทษปรับ 400 ถึง 1,000 บาท
- กรณีชนคนได้รับบาดเจ็บ ปรับไม่เกิน 1,000 บาท จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
- กรณีชนคนได้รับบาดเจ็บสาหัส ปรับไม่เกิน 6,000 บาท จำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
- กรณีชนคนเสียชีวิต ปรับไม่เกิน 20,000 บาท จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากผู้ขับขี่หลบหนีจากที่เกิดเหตุ หรือไม่แจ้งเหตุต่อพนักงานสอบสวน
- จะต้องถูกเพิ่มโทษจากโทษที่ได้รับอีกดังนี้ ปรับไม่เกิน 5,000 บาท-20,000 บาท
- จำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ
- รถคันที่เกิดเหตุจะถูกยึดจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
ผู้ประสบภัยจากรถ จะได้รับความคุ้มครอง หากได้รับความเสียหาย แก่ชีวิต ร่างกาย หรืออนามัย ซึ่งผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกันต้องรับผิดตามกฎหมายดังนี้
- กรณีได้รับความเสียหายต่อร่างกาย หรืออนามัย บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตามความเสียหายที่แท้จริง แต่ไม่เกิน 80,000 บาทต่อหนึ่งคน
- กรณีสูญเสียอวัยวะ/ทุพพลภาพอย่างถาวร หรือทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าสินไหมทดแทน 200,000 – 500,000 บาทต่อหนึ่งคน (กรณีสูญเสียอวัยวะ เป็นไปตามเงื่อนไขกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ)
- กรณีเสียชีวิต บริษัทจะชดใช้ค่าสินไหมทดแทน 500,000 บาทต่อหนึ่งคน
- กรณีที่เข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาล (คนไข้ใน) บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท (จำนวน รวมกันไม่เกิน 20 วัน)
ค่าเสียหายเบื้องต้น บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นให้แก่ผู้ประสบภัยจากรถ ที่ได้รับความเสียหายต่อชีวิต ร่างกาย ภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่บริษัทได้รับคำร้องขอ โดยไม่รอการพิสูจน์ความรับผิด ดังนี้
- กรณีผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกาย บริษัทประกันภัยจะจ่ายค่ารักษาพยาบาล ตามจำนวนที่จ่ายไปจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาทต่อหนึ่งคน
- กรณีผู้ประสบภัยสูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพอย่างถาวร บริษัทจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาทต่อหนึ่งคน
- กรณีผู้ประสบภัยเสียชีวิต บริษัทจะจ่ายค่าปลงศพ ตามจำนวนเงินค่าเสียหายเบื้องต้น 35,000 บาทต่อหนึ่งคน
(หากเกิดความเสียหาย หลายกรณี รวมกัน จะได้รับค่าเสียหายเบื้องต้นรวมกันแล้วไม่เกิน 65,000 บาทต่อหนึ่งคน )
หมายเหตุ : กรณี ผู้ประสบภัยเป็นผู้ขับขี่รถคันที่เอาประกัน จะได้รับความคุ้มครอง ไม่เกินค่าเสียหายเบื้องต้นเท่านั้น
(***เนื้อหาข้างต้นเป็นเพียงคำแนะนำเท่านั้น***)
ติดต่อ – สอบถาม
หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ Claims@siamconsultants.co.th
- คุณปิยณัท ภูธนวรินทร
- คุณวีรพงศ์ ศรีม่วง
- คุณภูมินทร์ ธนสัมพันธ์กุล
โทร. 0-2291-6772–6 ต่อ 203 หรือ 086-106-1707
โทร. 0-2291-6772–6 ต่อ 201 หรือ 081-850-4770
โทร. 0-2291-6772–6 ต่อ 202 หรือ 081-850-4765
การเรียกร้องค่าสินไหม
ประกันภัยเบ็ดเตล็ด
- บรรเทาความเสียหายเบื้องต้น
- แจ้งความเสียหายที่เกิดขึ้น
- หน้าที่ในการบรรเทาความเสียหายเบื้องต้น เป็นหน้าที่ประการแรกของผู้เอาประกันภัย กรณีเกิดความเสียหายขึ้น
- การบรรเทาความเสียหายเบื้องต้น คือ การป้องกันความเสียหาย มิให้ขยายวงเพิ่มขึ้น หลังจากที่ได้เกิดความเสียหายแล้ว
- ผู้เอาประกันภัยต้องปฏิบัติประหนึ่งว่า ตนมิได้เอาประกันภัยทรัพย์สินที่เสียหายไว้
- ชื่อผู้เอาประกันภัย
- ประเภทและเลขที่ของกรมธรรม์ประกันภัย
- วัน, เวลาที่เกิดเหตุ
- สาเหตุความเสียหาย, สถานที่เกิดเหตุ
- รายการทรัพย์สินที่ได้รับความเสียหาย
- มูลค่าความเสียหายเบื้องต้น (ถ้ามี)
- ชื่อ ตำแหน่ง พร้อมหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ของผู้แจ้งเหตุ
- ชื่อ ตำแหน่ง หมายเลขโทรศัพท์ พร้อมสถานที่ของบุคคล ที่จะสามารถเข้าไปติดต่อเพื่อทำการสำรวจความเสียหาย
- พิจารณาการเข้าสำรวจความเสียหาย
- ขอเอกสารประกอบการพิจารณาการเรียกร้อง
- พิจารณาค่าสินไหมทดแทน ขอบเขตความเสียหาย มูลค่าความเสียหายที่แท้จริง และเงื่อนไขความคุ้มครองของกรมธรรม์
- แจ้งผู้เอาประกันภัยทราบถึงผลการพิจารณาการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
- ดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน
ภายหลังจากที่ได้รับแจ้งความเสียหาย บริษัทประกันภัยจะพิจารณาความเหมาะสมในการเข้าสำรวจความเสียหาย โดยอาจดำเนินการดังนี้
- สำรวจความเสียหายโดยเจ้าหน้าที่ของบริษัทประกันภัย
- มอบหมายให้บริษัทสำรวจภัยเข้าสำรวจความเสียหาย
- พิจารณาการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากข้อมูล / เอกสารที่ผู้เอาประกันภัยจัดส่งให้ โดยไม่ต้องเข้าทำการสำรวจ
สำหรับเอกสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับความเสียหายที่เกิดขึ้น เพื่อใช้ประกอบการพิจารณา ได้แก่
- จดหมายเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
- รายงานอุบัติเหตุภายในหน่วยงาน
- บันทึกประจำวันของตำรวจ
- เอกสารเรียกร้องค่าเสียหายจากคู่กรณี
- ใบเสร็จ, ใบเสนอราคาค่าซ่อมแซมความเสียหาย
- รูปถ่ายความเสียหาย
- แบบแปลน / แผนผัง
- ใบความเห็นช่าง
- เอกสารและข้อมูลอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
บริษัทประกันภัยจะพิจารณาค่าสินไหมทดแทนจากสาเหตุของความเสียหาย ขอบเขตความเสียหาย มูลค่าความเสียหาย และอยู่ภายใต้ความคุ้มครองของกรมธรรม์ประกันภัย
- กรณีความเสียหาย อยู่ ภายใต้ความคุ้มครอง บริษัทประกันภัยจะส่งเอกสารสัญญาประนีประนอมไปให้ผู้เอาประกันภัยลงนาม
- กรณีความเสียหาย ไม่อยู่ ภายใต้ความคุ้มครอง บริษัทประกันภัยจะส่งเอกสารแจ้งผลการพิจารณาดังกล่าวไปยังผู้เอาประกันภัย
เมื่อบริษัทประกันภัย ได้รับเอกสารสัญญาประนีประนอมยอมความ ซึ่งผู้เอาประกันภัยได้ลงนามแล้ว บริษัทประกันภัยจะส่งเอกสารไปยังบริษัทประกันภัยเพื่อดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่ ผู้เอาประกันภัยต่อไป
ติดต่อ – สอบถาม
หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ Claims@siamconsultants.co.th
- คุณวีรพงศ์ ศรีม่วง
- คุณภูมินทร์ ธนสัมพันธ์กุล
- คุณนพดล งอกผล
โทร. 0-2291-6772-6 ต่อ 201 หรือ 081-850-4770
โทร. 0-2291-6772-6 ต่อ 202 หรือ 081-850-4765
โทร. 0-2291-6772-6 ต่อ 204 หรือ 064-998-9958
การเรียกร้องค่าสินไหม
ประกันภัยอุบัติเหตุและสุขภาพ
กรณี มี บัตรประกันสุขภาพ-อุบัติเหตุ
- ผู้เอาประกันสามารถยื่นบัตรประกันสุขภาพ-อุบัติเหตุ พร้อมบัตรประชาชน กับโรงพยาบาลในเครือข่ายหรือสังกัดของบัตรประกันสุขภาพ-อุบัติเหตุนั้น
กรณี ไม่มี บัตรประกันสุขภาพ-อุบัติเหตุ
- ผู้เอาประกันควรเข้าทำการรักษากับสถานพยาบาลแผนปัจจุบันที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย ซึ่งดำเนินการโดย แพทย์**
แพทย์ หมายถึง ผู้ที่สำเร็จการศึกษา ได้รับปริญญาแพทยศาสตร์บัณฑิต ได้ขึ้นทะเบียนอย่างถูกต้องจากแพทยสภา และได้รับอนุญาตให้ประกอบวิชาชีพสาขาเวชกรรมในท้องถิ่นที่ให้บริการทางการแพทย์หรือทางด้านศัลยกรรม)
กรณีผู้เอาประกันภัยบาดเจ็บควรไปพบแพทย์ทันที
เอกสารที่ใช้ประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนมีดังนี้
- ใบเสร็จรับเงิน (ตัวจริง)
- ใบรับรองแพทย์ (ตัวจริง)
- แบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
- สำเนาบัตรประชาชน (ผู้เอาประกันภัย)
- นำส่งเอกสารการเรียกร้องค่าสินไหม
กรณีเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ
เอกสารที่ใช้ประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน(เบื้องต้น) มีดังนี้
- สำเนาใบมรณะบัตร
- สำเนาทะเบียนบ้าน (มีการแจ้งตายและคัดออกจากทะเบียนบ้านเรียบร้อยแล้ว)
- สำเนาบัตรประชาชนผู้เสียชีวิต
- สำเนาบันทึกประจำวัน (รับรองโดยร้อยเวรเจ้าของคดี)
- สำเนารายงานชันสูตรพลิกศพ (รับรองโดยร้อยเวรเจ้าของคดี หรือหน่วยงานที่ออกรายงาน)
- ผลการตรวจระดับแอลกอฮอล์ในกระแสเลือด / ถ้าไม่มีต้องให้เจ้าหน้าที่ตำรวจระบุชัดเจนว่าไม่ได้ตรวจหาระดับแอลกอฮอล์
กรณี ผู้ป่วยใน (IPD) เอกสารที่ใช้ประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน มีดังนี้
- ใบเสร็จรับเงิน (ตัวจริง)
- ใบรับรองแพทย์ (ตัวจริง)
- ใบสรุปปะหน้างบ และ/หรือ ใบแจ้งหนี้ (ถ้ามี)
- ประวัติการรักษา OPD Card (ถ้ามี)
- แบบฟอร์มเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน
- นำส่งเอกสารการเรียกร้องค่าสินไหม
กรณี ผู้ป่วยในนอก (OPD) เอกสารที่ใช้ประกอบการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทน มีดังนี้
- ใบเสร็จรับเงิน (ตัวจริง)
- ใบรับรองแพทย์ (ตัวจริง)
- ใบสรุปจำนวนผู้เรียกร้อง (กรณีประกันกลุ่ม)
- นำส่งเอกสารการเรียกร้องค่าสินไหม
กรณี อยู่ ภายใต้ความคุ้มครอง
- บริษัทประกันภัยจะดำเนินการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน และจัดส่งเช็คค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยต่อไป
กรณี ไม่อยู่ ภายใต้ความคุ้มครอง
- บริษัทประกันภัยจะส่งเอกสารแจ้งผลการพิจารณา ดังกล่าวไปยังผู้เอาประกันภัย
ติดต่อ – สอบถาม
หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการติดต่อสอบถามเพิ่มเติม ติดต่อได้ที่ Claims@siamconsultants.co.th
- คุณโสภิตตา สินธุเจริญ
- คุณวีรพงศ์ ศรีม่วง
- คุณภูมินทร์ ธนสัมพันธ์กุล
โทร. 0-2291-6772–6 ต่อ 204 หรือ 081-720-4776
โทร. 0-2291-6772–6 ต่อ 201 หรือ 081-850-4770
โทร. 0-2291-6772–6 ต่อ 202 หรือ 081-850-4765
บริษัท สยามคอนซัลแตนท์แอนด์ โบรกเกอร์ จำกัด
2689/28-31 ถนนเจริญกรุง แขวงบางคอแหลม
เขตบางคอแหลม กรุงเทพฯ 10120
เกี่ยวกับเรา
บริษัท สยามคอนซัลแตนท์ แอนด์ โบรกเกอร์ จำกัด
ใบอนุญาตจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เลขที่ 0105525023953
บริษัท สยามคอนซัลแตนท์ แอนด์ โบรกเกอร์ จำกัด
ใบอนุญาตจากสำนักงานการประกันภัย เลขที่ ว00193/2525